นวัตกรรมการเรียนการสอน
ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
และเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในบั้นปลายนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ครู – อาจารย์ จะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่
ๆ ที่ครู – อาจารย์คิดค้นขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ
นั้น คือ นวัตกรรมทางการศึกษานั้นเอง
นวัตกรรมการศึกษา (Educational
Innovation )
“นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ
รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา
เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน
และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ
(Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
โดยสรุป "นวัตกรรมการศึกษา"(Educational
Innovation) คือ การนำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ
หรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้น ทั้งในส่วนที่ไม่เคยมีมาก่อน
หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งที่มีอยู่แต่เดิม ให้ดีขึ้น โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี
ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้นำมาใช้บังเกิดผลเพิ่มพูนประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จได้ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 ดังกล่าว จำเป็นต้องทำการศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาใหม่ๆ
ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาทางการศึกษาทั้งในรูปแบบของการศึกษาวิจัย
การทดลองและการประเมินผลนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด
นวัตกรรมที่นำมาใช้ทั้งที่ผ่านมาแล้วและที่จะมีในอนาคตมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในด้านต่างๆ
ซึ่ง
นักวิชาการได้แบ่งประเภทของนวัตกรรมการศึกษาไว้หลายลักษณะ
แต่จะขอจำแนกในส่วนที่สำคัญ 2 ลักษณะ คือ
1. นวัตกรรมการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
2. นวัตกรรมการศึกษาที่ยึดแนวความคิดพื้นฐานเป็นหลัก
เป็นนวัตกรรมที่มีขอบเขต เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทุกด้าน
ตั้งแต่หลักสูตร การเรียนการสอน สื่อและเทคโนโลยี ทางการศึกษา การวัดและประเมินผล
และการบริหาร ทัศนา แขมมณี (2526 : 13) และวาทิต ระถี (2531) ได้แบ่งประเภทนวัตกรรมการศึกษาออกเป็น 5 ด้าน
คือ
1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
2. นวัตกรรมการเรียนการสอน
3. นวัตกรรมสื่อการสอน
4. นวัตกรรมการประเมินผล
5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ
นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ
ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น
เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก
นอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตรยังมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่บนฐานของแนวคิดทฤษฎี
และปรัชญาทางการจัดการสัมมนาอีกด้วย
การพัฒนาหลักสูตรตามหลักการและวิธีการดังกล่าวต้องอาศัยแนวคิดและวิธีการใหม่ๆที่เป็นนวัตกรรมการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือจัดการให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการนวัตกรรมทางด้านหลักสูตรในประเทศไทย
ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรดังต่อไปนี้
1. หลักสูตรแบบบูรณาการ
(Integrated Curriculum) เป็นการบูรณาการส่วนประกอบของหลักสูตรเข้าด้วยกันทางด้านวิทยาการในสาขาต่างๆ
การศึกษาทางด้านจริยธรรมและสังคม
โดยมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดีสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ในสาขาต่างๆให้สอดคล้องกับสภาพสังคมอย่างมีจริยธรรม
2. หลักสูตรรายบุคคล
เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อตอบสนองแนวความคิดในการจัดการศึกษารายบุคคล
ซึ่งจะต้องออกแบบระบบเพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านต่างๆ
3. หลักสูตรกิจกรรมหรือประสบการณ์ (Activity or Experience Curriculum) เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นกระบวนการในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ
เช่น
กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียนประสบการณ์การเรียนรู้จากการสืบค้นด้วยตนเอง
เป็นต้น
4. หลักสูตรท้องถิ่น เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ต้องการกระจายการบริหารจัดการการมีออกสู่ท้องถิ่นเพื่อให้สอดคล้องกับศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น
แทนที่หลักสูตรในแบบเดิมที่ใช้วิธีการรวมศูนย์การพัฒนาอยู่ในส่วนกลาง
และ
- การจัดหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ
(Function Literacy)
- การจัดหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามลำดับขั้นจนบรรลุเป้าหมาย
(Mastery Learning Curriculum)
- หลักสูตรแบบเอกัตภาพ (Individualized
Curriculum)
นวัตกรรมการศึกษาที่ยึดแนวความคิดพื้นฐานเป็นหลัก
สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ (บุญเกื้อ ควรหาเวช. 2520 : 10-11)
1 ความแตกต่างระหว่างบุคคล
(Individual Difference)
2 ความพร้อม(Readiness)
3 การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
(Use of Time)
4 การขยายตัวทางด้านวิชาการและการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากร
1.1 ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual
Difference)
การจัด
การศึกษาตามแผนการศึกษาแทบทุกฉบับ มุ่งให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่าง
บุคคลโดยพิจารณาความถนัด ความสนใจ ความสามารถ ตลอดจนบุคลิกลักษณะของผู้เรียน
แต่ละคนเป็นเกณฑ์
นวัตกรรมการศึกษาที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวคิดพื้นฐานด้านนี้มีหลายอย่างคือ
1.1.1 การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
1.1.2 เครื่องสอน (Teaching Machine)
1.1.3 บทเรียนสำเร็จรูปหรือบทเรียนด้วยตนเอง
(Programmed Text Book or Programmed
Instruction)
1.1.4 สื่อประสม (Multi-media ) หรือชุดการสอน (Learning
Packages)
1.1.5 การสอนแบบเป็นคณะ
(Team Teaching)
1.1.6 การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
(School Within School)
1.1.7 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(Computer Assisted Instruction)
1.1.8 ชุดการสอนย่อย
(Minicourse)
นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ
1. เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
2. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมา
4. เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง
5.การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สาเหตุการเกิดขึ้นของนวัตกรรมการศึกษา
1. การเพิ่มปริมาณของผู้เรียน
2. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว
3. การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น
4. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคม
ขอบข่ายนวัตกรรมทางการศึกษา
1. การจัดการเรื่องการสอนด้วยวิธีการใหม่ๆ
2. เทคนิควิธีการสอนแบบต่าง ๆ ที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน
3. การพัฒนาสื่อใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
4.การใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในระบบการเรียนการสอนในระบบทางไกลและการเรียนด้วยตัวเอง
5. วิธีการในการออกแบบหลักสูตรใหม่ๆ
6. การจัดการด้านการวัดผลแบบใหม่
ความสำคัญ
ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา ก็คือ สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในวงการศึกษาสรุปได้ ดังนี้
1.เพื่อนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องการเรียนการสอน เช่น
1.1 ปัญหาเรื่องวิธีการสอน ปัญหาที่มักพบอยู่เสมอ คือ ครูส่วนใหญ่ยังคง
ยึดรูปแบบการสอนแบบบรรยาย โดยมีครูเป็นศูนย์กลางมากกว่าการสอนในรูปแบบอื่น การสอนด้วยวิธีการแบบนี้เป็นการสอนที่ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในบั้นปลาย เพราะนอกจากจะทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย ขาดความสนใจแล้ว ยังเป็นการปิดกั้นความคิด และสติปัญญาของผู้เรียนให้อยู่ในขอบเขตจำกัดอีกด้วย
1.2 ปัญหาด้านเนื้อหาวิชา บางวิชาเนื้อหามาก และบางวิชามีเนื้อหาเป็น
นามธรรมยากแก่การเข้าใจ จึงจำเป็นจะต้องนำเทคนิคการสอนและสื่อมาช่วย
ปัญหาเรื่องอุปกรณ์การสอน บางเนื้อหามีสื่อการสอนเป็นจำนวนน้อย
ไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ เพื่อทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาได้ง่ายขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาคิดค้นหาเทคนิควิธีการสอน และผลิตสื่อการสอนใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ทำให้การเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายได้
2. เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา โดยการนำสิ่งประดิษฐ์หรือแนวความคิดใหม่ ๆ ในการเรียนการสอนนั้นเผยแพร่ไปสู่ครู – อาจารย์ท่านอื่น
ๆ หรือเพื่อเป็นตัวอย่างอีกรูปแบบหนึ่งให้กับครู – อาจารย์ที่สอนในวิชาเดียวกัน ได้นำแนวความคิดไปปรับปรุงใช้หรือผลิตสื่อการสอนใหม่
ๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
ปัจจัยสำคัญที่มีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศฯ NO
COMMENTS วิวัฒนาการนวัตกรรมทางด้านการศึกษาได้มีพัฒนาการต่อเนื่องมาโดยตลอด
แต่เดิมที่มีการเรียนรู้จากห้องเรียน เป็นหลัก
ต่อมามีการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ออกไปอีกหลายรูปแบบ
ซึ่งแต่ละแบบต่างมีสิ่งผูกพันเกี่ยวข้องต่อกัน นวัตกรรมทางการศึกษา
ส่งผลใด ต่อการจัดการศึกษา สำหรับนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีการพัฒนาขึ้น
จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อกระบวนการจัดการศึกษา ดังต่อไปนี้
1. เกิดวิธีการจัดการเรียนการสอนด้วยระบบหรือวิธีการใหม่ๆ
2. จะเกิดรูปแบบเทคนิควิธีการสอนใหม่ในแต่ละสาระวิชา
ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
3. มีการพัฒนาสื่อประกอบการสอน
หรือสื่อการสอนหลักใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
4. การใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในระบบการเรียนการสอนในระบบทางไกลและการเรียนด้วยตัวเอง
5. จะเกิดแนววิธีคิดในการออกแบบหลักสูตรสำหรับการเรียนรู้ด้วยวิธีการใหม่ๆ
6. มีรูปแบบการจัดการด้านการวัดผลแบบใหม่
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อวิธีการศึกษา
ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป
อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล
(Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ
และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่
การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้างใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง
นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น
(Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป
(Programmed Text Book)
- เครื่องสอน
(Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ
(TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
(School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(Computer Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า
เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ
แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน
ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก
และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้
นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน
การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- ศูนย์การเรียน
(Learning Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
(School within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น
(Instructional Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์
เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา
ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี
ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน
บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง
การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น
นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น
(Flexible Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด
(Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป
(Programmed Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน
การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ
ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน
และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ
การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์
แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
นวัตกรรมเป็นปัจจัยสำคัญของการจัดการศึกษา
ในอนาคตนวัตกรรมมีแนวโน้มว่า
จะเป็นสิ่งจำเป็น และสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการจัดการศึกษา
อันมีผลมาจากปัจจัยต่อไปนี้ (สมพร ชมอุตม์, 2532)
1. ปัจจุบันมีนวัตกรรมเกิดขึ้นใหม่ๆ
ในทางการเรียนการสอน มีสื่อซึ่งผลิตออกมาอย่างไม่หยุยั้ง
2. การเปลี่ยนวิธีการสอนแบบใหม่ ๆ
ซึ่งครูใช้กันอย่างกว้างขวางด้วยการเผยแพร่ทางโทรทัศน์
โดยผลิตรายการทางการเรียนการสอนออกมาเป็นเกม ซึ่งผสมผสานกับวิชาการผู้เรียนเรียนอย่างสนุกสนานและมีความสนใจสูง
แถมยังเรียนได้ผลดีด้วย
3. มีสื่อหลากหลายซึ่งช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มขึ้นเรื่อย
ๆ
4. มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อให้เข้ากับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน
5. คนสนใจทางการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้จากการศึกษานอกระบบ
เช่น มหาวิทยาลัยเปิด มีการเรียนการสอนโดยใช้วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์
สิ่งพิมพ์ตลอดจนการเรียนคอมพิวเตอร์
มีระบบการเรียนแบบการให้การศึกษาทบทวนความรู้เก่าที่ลืมไปแล้ว
(re-education)
6. ทรัพยากรการเรียนรู้เพิ่มขึ้น กล่าวคือ
มีการผลิตสื่อออกมาหลาย ๆ รูปแบบและยังมี
นักวิชาการสาขาใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เช่น วิศวกรการจราจร (Traffic Engineering) เพราะการสัญจรกลายเป็นเรื่องศาสตร์ที่ต้องศึกษากันอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง
วิศวกรจะต้องวางแผนการสร้างถนนหนทางว่าทำอย่างไรจึงทำให้การจราจรไม่ติดขัด
หรือมีวิชาการใหม่ ๆ เช่น ปิโตรเคมี สาขาเกษตรทางการประมง เป็นต้น
7. การวิจัยเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนมีเพิ่มขึ้นทั้งในและนอกประเทศ
8. ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนในระบบและนอกระบบ
มีความร่วมมือกันระหว่างเอกชนกับรัฐที่ประสานงานกันในเรื่องของการเรียนการสอน
ตลอดจนมีการฝึกอบรมทางวิชาการเพิ่มขึ้นทั้งฝ่ายของรัฐและเอกชน
นวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญของไทยในปัจจุบัน(2546)
นวัตกรรม
เป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ
ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวงการจะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ
ดังนั้นนวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ สิ่งใดที่คิดและทำมานานแล้ว
ก็ถือว่าหมดความเป็นนวัตกรรมไป โดยจะมีสิ่งใหม่มาแทน
ในวงการศึกษาปัจจุบัน
มีสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรมทางการศึกษา หรือนวัตกรรมการเรียนการสอน
อยู่เป็นจำนวนมาก บางอย่างเกิดขึ้นใหม่ บางอย่างมีการใช้มาหลายสิบปีแล้ว
แต่ก็ยังคงถือว่าเป็น นวัตกรรม
เนื่องจากนวัตกรรมเหล่านั้นยังไม่แพร่หลายเป็นที่รู้จักทั่วไป ในวงการศึกษา
ความหมายของ E-learning
E-learning หมายถึง
การศึกษาที่เรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยผู้เรียนจะเรียนรู้ ด้วยตัวเอง
การเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้สองประการคือเรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง
และ การตอบสนองในความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ World
Wide Web หรือเว็ปไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ
ส่งข่าวสาร) ระหว่างกัน โดยจะมีการเรียนรู้ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน
ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน
ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือ ในสองลักษณะดังนี้
1. แบบ Real-time ได้แก่
การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะของเสียง
จากบริการของ Chat room
2. แบบ Non real-time ได้แก่ การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเล็คทรอนิคเมลล์Web Board News-group เป็นต้น (คุณธิดาทิตย์ จันคนา)
2. แบบ Non real-time ได้แก่ การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเล็คทรอนิคเมลล์Web Board News-group เป็นต้น (คุณธิดาทิตย์ จันคนา)
ประโยชน์ของ E-learning
การเรียนการสอนโดยผ่านระบบ e-learning นั้น
ดิฉันคิดว่าเป็นทางเลือกทางการศึกษาอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในสิ่งที่ตนสนใจได้อีกทั้งยังมีอิสระในการเรียนโดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องอยู่แต่เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้นผู้เรียนสามารถเรียนได้ในทุกสถานที่ตามที่ตนต้องการ
เพราะในยุคปัจจุบันนั้น เทคโนโลยีต่างๆมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถเข้าถึงได้ทั่วทุกมุมโลก
ดังนั้นไม่ว่าเราจะตรงส่วนใดของโลก
เรานั้นก็สามารถเข้าถึงการศึกษาได้ซึ่งประโยชน์ของการเรียนการสอนผ่านระบบ e-learning มีดังนี้
1.ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา
และ สะดวกในการเรียน
การเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning นั้นง่ายต่อการแก้ไขเนื้อหา และกระทำได้ตลอดเวลา เพราะสามารถกระทำได้ตามใจของผู้สอน เนื่องจากระบบการผลิตจะใช้ คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ผู้เรียนก็สามารถเรียนโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่
การเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning นั้นง่ายต่อการแก้ไขเนื้อหา และกระทำได้ตลอดเวลา เพราะสามารถกระทำได้ตามใจของผู้สอน เนื่องจากระบบการผลิตจะใช้ คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ผู้เรียนก็สามารถเรียนโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่
2.เข้าถึงได้ง่าย
ผู้เรียน และผู้สอนสามารถเข้าถึง e-learning ได้ง่าย โดยมากจะใช้ web browser ของค่ายใดก็ได้ (แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตบทเรียน อาจจะแนะนำให้ใช้ web browser แบบใดที่เหมาะกับสื่อการเรียนการสอนนั้นๆ) ผู้เรียนสามารถเรียนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้ และในปัจจุบันนี้การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกระทำได้ง่ายขึ้นมาก และยังมีค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีราคาต่ำลงมากว่าแต่ก่อนอีกด้วย
ผู้เรียน และผู้สอนสามารถเข้าถึง e-learning ได้ง่าย โดยมากจะใช้ web browser ของค่ายใดก็ได้ (แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตบทเรียน อาจจะแนะนำให้ใช้ web browser แบบใดที่เหมาะกับสื่อการเรียนการสอนนั้นๆ) ผู้เรียนสามารถเรียนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้ และในปัจจุบันนี้การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกระทำได้ง่ายขึ้นมาก และยังมีค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีราคาต่ำลงมากว่าแต่ก่อนอีกด้วย
3.ปรับปรุงให้ทันสมัยได้ง่าย
เนื่องจากผู้สอน หรือผู้สร้างสรรค์งาน e-Learning จะสามารถเข้าถึง server ได้จากที่ใดก็ได้ การแก้ไขข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูล จึงทำได้ทันเวลาด้วยความรวดเร็ว
เนื่องจากผู้สอน หรือผู้สร้างสรรค์งาน e-Learning จะสามารถเข้าถึง server ได้จากที่ใดก็ได้ การแก้ไขข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูล จึงทำได้ทันเวลาด้วยความรวดเร็ว
4.ประหยัดเวลา
และค่าเดินทาง
ผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ โดยจำเป็นต้องไปโรงเรียน หรือที่ทำงาน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์เครื่องประจำก็ได้ ซึ่งเป็นการประหยัดเวลามาก การเรียน การสอน หรือการฝึกอบรมด้วยระบบ e-Learning นี้ จะสามารถประหยัดเวลาถึง 50% ของเวลาที่ใช้ครูสอน หรืออบรม
ผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ โดยจำเป็นต้องไปโรงเรียน หรือที่ทำงาน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์เครื่องประจำก็ได้ ซึ่งเป็นการประหยัดเวลามาก การเรียน การสอน หรือการฝึกอบรมด้วยระบบ e-Learning นี้ จะสามารถประหยัดเวลาถึง 50% ของเวลาที่ใช้ครูสอน หรืออบรม
5.ข้อมูลไม่สูญหาย
เนื่องจากการเรียนด้วยระบบ E-learning สามารถเก็บบันทึกข้อมูลไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ทำให้ง่ายต่อการค้นหาและการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ
เนื่องจากการเรียนด้วยระบบ E-learning สามารถเก็บบันทึกข้อมูลไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ทำให้ง่ายต่อการค้นหาและการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ
6.มีอิสระในการเลือกเรียน
การเรียนโดยผ่านระบบ E-learning นั้นเราสามารถ เลือกเรียนในสิ่งที่ตนสนใจ และยังสามารถเลือกอาจารย์ผู้สอนได้หลายท่านอีกด้วย ดังนั้นการเรียนนี้จึงมีความอิสระต่อผู้เรียนแต่ก็มีข้อจำกัดในบางเรื่อง เช่น เรื่องของเวลา เป็นต้น
การเรียนโดยผ่านระบบ E-learning นั้นเราสามารถ เลือกเรียนในสิ่งที่ตนสนใจ และยังสามารถเลือกอาจารย์ผู้สอนได้หลายท่านอีกด้วย ดังนั้นการเรียนนี้จึงมีความอิสระต่อผู้เรียนแต่ก็มีข้อจำกัดในบางเรื่อง เช่น เรื่องของเวลา เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น